วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558





                   ชาวศรีธาตุร่วมสืบทอดบุญกฐิน




            เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม  2558  ประชาชนชาวอำเภอศรีธาตุร่วมกันสืบทอดประเพณีบุญกฐิน ณ  วัดศรีสว่างบรมสุข อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ บุญกฐินจะจัด ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ไม่จัดเป็นการทอดกฐิน              เวลา 15.00. ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านจะไปรวมตัวกันที่วัดเพื่อตั้งขบวนแห่กองกฐินรอบหมู่บ้าน ระหว่างทางก็จะมีการฟ้อนแห่ มีดนตรีเปิดเพื่อให้เกิดความสนุกนานตลอดทาง และจะมีขัน ต้นกฐิน ให้ผู้คนได้ร่วมถวายเงินตลอดเส้นทาง  ประชาชนมากมายแต่ละหมู่บ้านก็มาร่วมแห่กฐินกันอย่างหนาแน่น  เมื่อมาถึงวัดแล้วแต่ละหมู่บ้านก็จะรวบรวมเงินปัจจัยทานที่ร่วมกันบริจาคมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ที่วัด  และพระภิกษุสงฆ์ก็จะให้พรตามลำดับ และเวลาประมาณ 18.00. จะมีพิธีบวชชีพราหมณ์ ซึ่งคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะมาร่วมทำพิธีบวชชีพราหมณ์ ต่อมาก็จะมีพิธีสวดพุทธาภิเษก ซึ่งเป็นพิธีที่ศักสิทธิ์มากและนานทีจะมีการจัดพิธีนี้ขึ้น  ประชาชนส่วนมากจึงมาร่วมทำพิธีนี้อย่างหนาแน่น และการจัดประเพณีนี้ขึ้นเพื่อแสดงถึงความรักความสามัคคีของคนในหมู่บ้านที่ร่วมกันสืบทอดประเพณีดีๆไว้คู่กับคนไทยตลอดไป
              การทอดกฐินเป็นประเพณีอันดีงามของชาวพุทธที่ศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า 2,500 ปี กำเนิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐออกเดินทางไกล เพื่อไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวัน พระภิกษุเหล่านั้นมีจีวรที่เปรอะเปื้อนเปียกชุ่ม และเปื่อยขาดด้วยความเก่า พระบรมศาสดาจึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษารับผ้ากฐินได้หลังออกพรรษา เพื่อนำมาผลัดเปลี่ยนผ้าเก่า ประเพณีทอดกฐินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งนั้นและสืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบันการทอดกฐินเป็นบุญที่มีอานิสงส์มหาศาล   บุญจากการทอดกฐินเป็นบุญพิเศษ ที่ทำได้ยากกว่าบุญอื่น ด้วยสาเหตุหลายประการ ดังนี้ คือ1.) จำกัดด้วยเวลา คือต้องถวายภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันออกพรรษา
2.)จำกัดชนิดทาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอื่นไม่ได้
3.)จำกัดคราว คือ แต่ละวัดรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
4.)จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุรับกฐินได้จะต้องจำพรรษาที่วัดนั้นครบไตรมาส (3 เดือน) และจะต้องมีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป5.)จำกัดงาน คือ เมื่อพระภิกษุรับผ้ากฐินแล้ว จะต้องกรานกฐินให้เสร็จภายในวันนั้น
6.)จำกัดของถวาย คือ ไทยธรรมที่ถวายต้องเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวรเท่านั้น โดยทั่วไปนิยมใช้สังฆาฏิ ไทยธรรมอื่นจัดเป็นบริวารกฐิน เกิดจากพุทธประสงค์ พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับผ้ากฐินเพื่อพลัดเปลี่ยนไตรจีวรเก่า แต่ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้อนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาต ถวายผ้าอาบน้ำฝน การทอดกฐินและประเพณีการทอดกฐินผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำ 5 รูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้นเขตกำหนดทอดกฐินการทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ไม่จัดเป็นการทอดกฐิน แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่น จะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงอนุญาตให้ภิกษุรับไว้ก่อนได้        นอกจากนี้การทอดกฐินยังเป็นทานที่พิเศษ คือ ทั้งพระภิกษุและญาติโยมผู้ทอดกฐินได้อานิสงส์ด้วยกัน การทอดกฐินจึงเป็นบุญใหญ่ ที่ผู้ให้ (คฤหัสถ์) และผู้รับ (พระภิกษุสงฆ์) ต่างก็ได้บุญทั้ง 2 ฝ่าย







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น